ในตอนแรก ตั้งใจจะใช้เป็นเนื้อหาสำหรับโปสเตอร์ I'm Learning English
แต่รู้สึกว่า มันยาวไป เลยนำมาเผยแพร่ใน KM ดีกว่า
According to David Kolb, there are two dimensions of learning: how learners take in and internalize information. Some like concrete experience and others like abstract concepts. Some like active experimentation and others like reflective observation. From this, he can classify individuals into 4 types as follows:
Diverger (concrete, reflective): This learner often ask “Why” and they learn by observing.
Assimilator (abstract, reflective): This learner often ask “What” and they learn by putting information in order.
Converger (abstract, active): This learner often ask “How” and they learn by trial and error.
Accomodator (concrete, active): This learner often ask “What if” and they learn by direct experience.
รูปแบบการเรียนรู้
เดวิด คอล์บกล่าวว่า มิติการเรียนรู้มีสองแบบ คือ การรับและประมวลข้อมูล ผู้เรียนบางคนชอบประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมในขณะที่บางคนชอบแนวคิดนามธรรม ผู้เรียนบางคนชอบทดลอง ในขณะที่บางคนชอบคิดสังเกต จากมิติเหล่านี้ คอล์บแบ่งผู้เรียนเป็น 4 แบบ
นักคิดหลากหลายมุมมอง (รูปธรรม, ช่างคิด) ชอบถาม “ทำไม” และเรียนโดยการสังเกต
นักซึมซับ (นามธรรม, ช่างคิด) ชอบถาม “อะไร” และเรียนโดยการจัดข้อมูลให้เป็นระเบียบ
นักคิดสรุปรวม (นามธรรม, ปฏิบัติ) ชอบถาม “อย่างไร” และเรียนโดยการทดลองผิด-ถูก
นักปรับตัว (รูปธรรม, ปฏิบัติ) ชอบถาม “อะไรจะเกิดขึ้นถ้า” และเรียนโดยประสบการณ์ตรง
ข้อมูลเสริม:
ตัวอย่างงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ซึ่งจัดทำในมหาวิทยาลัยของเราก็มี เช่น
สไตล์การเรียนรู้ของนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ระดับปริญญาตรี เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
โดย แสงเดือน ทวีสิน, นงนุช ภัทราครและธันยวิช วิเชียรพันธ์
พบว่า นักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 37.1) มีลักษณะเป็นแบบนักคิดสรุปรวม (convergers) และกลุ่มที่มีสัดส่วนน้อยที่สุด (ร้อยละ 18.4) คือนักซึมซับ (assimilators)
และเมื่อนำข้อมูลนี้มาตีความกับคำอธิบายรูปแบบการเรียนรู้ ก็สามารถอภิปรายได้ว่า
นักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ระดับปริญญาตรีส่วนใหญ่ชอบคำถาม "อย่างไร" สนใจขั้นตอนว่าจะทำอย่างไรให้สำเร็จ โดยคิดคร่าวๆ ก่อน (ไม่จำเป็นต้องเห็นภาพชัดเจน) แล้วลงมือปฏิบัติ ผลจากการลงมือปฏิบัติคือ ทำได้บ้าง ทำไม่ได้บ้าง จนกระทั่งเกิดความรู้ความเข้าใจในที่สุด
รูปแบบการเรียนรู้แบบนี้สะท้อนให้เห็นอีกอย่างก็คือ ผู้เรียนพิจารณา (คิดไตร่ตรอง) อยู่บ้าง และมีเพียงส่วนน้อยที่จัดข้อมูลที่ตนเรียนรู้ให้เป็นระเบียบ
ถ้าเช่นนั้น นอกจากเราจะสอนให้นักศึกษาเรียนรู้ตามรูปแบบของตนเองแล้ว
เราควรส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ฝึกพิจารณาก่อนลงมือทำ และคอยสนับสนุนให้ผู้เรียนจัดเก็บข้อมูลให้เป็นระเบียบด้วย
URL: http://digital.lib.kmutt.ac.th/journal/kmuttv25n4_4.pdf