เมื่อเช้านี้อ่านเนื้อหาของหนังสือเรื่อง nudge อย่างย่อ ซึ่งเขียนถึงความผิดพลาดในการตัดสินใจของมนุษย์ อันมีสาเหตุหนึ่งมาจากกลวิธีในการแก้ปัญหาที่เรียกว่า heuristic (ฮิว ริส ติก) หรือก็คือ การแก้ปัญหาโดยการลองผิดลองถูก หรืออาศัยกฎที่นิยามขึ้นอย่างหลวมๆ*
ยกตัวอย่างของการทดลองเรื่อง Tom W. (เนื้อหาส่วนนี้ถอดความมาจาก Wikipedia)
ในปี 1973 Kahneman and Tversky ให้ข้อมูลต่อไปนี้แก่กลุ่มตัวอย่าง
"Tom W. เป็นคนฉลาดมาก แม้จะขาดความคิดสร้างสรรค์ เขาชอบระเบียบและความชัดเจน และต้องการระบบที่เป็นระเบียบเรียบร้อย ซึ่งข้อมูลทุกอย่างต้องจัดอยู่ในที่ที่เหมาะสม ลักษณะการเขียนของเขาแข็งทื่อและเหมือนเครื่องจักร และบางครั้งจะมีมุกฝืดกับจินตนาการทางวิทยาศาสตร์อันโลดแล่นเข้ามาแทรกให้มันมีชีวิตชีวาขึ้นมานิดหน่อย เขามีความมุ่งมั่นที่จะเป็นคนเก่งกาจ ดูเหมือนเขาแสดงความเห็นอกเห็นใจคนอื่นเพียงเล็กน้อย และไม่ชอบปฏิสัมพันธ์กับใคร ถึงเขาจะยึดตัวเองเป็นที่ตั้ง เขาก็รู้จักผิดชอบชั่วดีอยู่มาก"
จากนั้น เขาแบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 3 กลุ่ม
กลุ่มแรก เขาถามว่า Tom W. เหมือนนักศึกษาระดับปริญญาโทในสาขาวิชาอะไรจาก 9 สาขาต่อไปนี้ (บริหารธุรกิจ, วิทยาการคอมพิวเตอร์, วิศวกรรมศาสตร์, มนุษยศาสตร์/ศึกษาศาสตร์, กฎหมาย, บรรณารักษศาสตร์, แพทยศาสตร์, วิทยาศาสตร์ หรือสังคมศาสตร์) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มองว่า Tom W. มีลักษณะเหมือนนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์มากที่สุด และเหมือนนักศึกษาสังคมศาสตร์น้อยที่สุด
กลุ่มที่สอง เขาถามว่า ความเป็นไปได้ที่ Tom W. จะเป็นนักศึกษาระดับปริญญาโทในสาขาวิชาทั้ง 9 สาขาที่กำหนดให้ ผลปรากฎว่า ความเป็นไปได้นี้สอดคล้องกับกลุ่มแรก
กลุ่มที่สาม เขาให้คิดสัดส่วนของนักศึกษาระดับปริญญาโทชั้นปีที่หนึ่งในสาขาวิชาทั้ง 9 สาขา ว่าแต่ละสาขาน่าจะมีคนเรียนเท่าไหร่
กลุ่มที่สองให้ค่าการประมาณที่ใกล้เคียงกับกลุ่มแรก คือมองว่า Tom W. มีโอกาสเป็นนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ และค่าการประมาณของกลุ่มสองน้อยกว่าเมื่อเทียบกับอัตราที่ใช้เป็นฐาน (base rate) ของกลุ่มสาม ถ้ากลุ่มตัวอย่างในการทดลองนี้ใช้ค่าอัตราฐาน (base rate) มาพิจารณาแล้วล่ะก็ ความเป็นไปได้ที่ Tom W. เป็นนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์จะลดลงไปเยอะมาก เพราะว่าในสมัยนั้น มีนักศึกษาระดับปริญญาโทสาขาวิศวกรรมศาสตร์น้อยมาก
แล้วมันหมายความว่าอย่างไร?
ตัวอย่างนี้เป็นการนำเสนอหัวข้อที่เรียกว่า representative heuristic หรือกล่าวอย่างง่ายว่า เราตัดสินความเป็นไปได้ของข้อสมมุติฐานใดๆ โดยพิจารณาว่าข้อสมมุติฐานนั้นเหมือนกับข้อมูลที่มีอยู่มากแค่ไหน และสิ่งนี้ทำให้เราละเลยอัตราที่ใช้เป็นฐาน (base rate) และเกิดอคติทางการคิด (cognitive bias) นั่นเอง
เรามักจะมีภาพของคุณลักษณะของคนที่เรียนสาขาวิชาต่างๆ เช่น คนเรียนภาษาต้องพูดเก่ง คนเรียนคณิตศาสตร์ต้องเก่งคำนวณ คนเรียนบรรณารักษศาสตร์ต้องชอบอ่านหนังสือ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ทุกคนมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว คนเรียนวิศวกรรมศาสตร์หลายคนแต่งกลอนได้ไพเราะ ชอบเข้าสังคมและงานเลี้ยง ชอบอ่านหนังสือ เข้าถึงสุนทรียภาพจากการฟังเพลงและงานศิลปะแขนงต่างๆ ฉะนั้น การเหมารวมทำให้เราพลาดโอกาสที่จะเห็นมุมชีวิตในด้านอื่นๆ ของผู้คนที่อยู่รอบตัวเรา
อย่าให้อคติเป็นตัวกำหนดการคิดตัดสินใจของเราครับ
หมายเหตุ:
*แปลจาก "proceeding to a solution by trial and error or by rules that are only loosely defined." (Oxford American Dictionary)
ยินดีกับน้องแชมป์ที่ได้เรียนในสิ่งที่ชอบ และได้รู้ด้วยว่าตนเองมีความถนัดอะไร ช่วยให้ได้ทำงานในสิ่งที่ตนรัก และใช้ความสนใจอีกด้านมาช่วยในชีวิตประจำวันครับ
เศรษฐศาสตร์เป็นเรื่องที่ทุกคนต้องเกี่ยวข้อง และเชื่อว่าช่วยให้น้องแชมป์วางแผนชีวิตได้ดีด้วยครับ
Suthee LI 3573 days ago
Admin#2
Profile
Friends
Friends of
Pages
Blog
Files
Photo Albums
Videos
ชอบบทความนี้มากเลยครับ ทำให้ นึกถึงตอน ตัดสินใจ เลือกคณะที่จะเรียน ในมหาวิทยาลัย
ซึ่งผลออกมาจากงานแนะแนวว่าผมชอบ แนวเศรษฐศาสตร์ ซึ่ง ผมบอกว่าผมชอบคอม (เล่นเกม)
เลยทำให้ผมไม่สนใจ แนวการเงิน อันที่จริงแล้วผมชอบจััดการเงินผม แต่ชอบเล่นเกมในคอมมากกว่า
เลยเป็นที่มาทำให้ ผมมาเรียนวิศวคอมได้ ครับ ซึ่ง ณ ตอนนี้ ผมก็ยังคงชอบเล่นเกม แต่สิ่งที่เพิ่มขึ้นมาคือ
ผมสนใจ ในศาสตร์ ทางด้านการเงินมากครับ
Admin#2 3576 days ago