การบรรยายพิเศษที่ประชุม 3 ฟอรั่ม เรื่อง "เสน่ห์ของการแปล"
วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 12.00-13.00 น. ณ ห้องประชุมสนั่น สุมิตร ชั้น 9 อาคารสำนักงานอธิการบดี
วิทยากรบรรยายโดย อาจารย์ผุสดี นาวาวิจิต (บรรณาธิการสำนักพิมพ์ผีเสื้อ)
ศาสตราจารย์ซาดาโนริ เบ็คคุ (別宮 貞徳)
แห่งมหาวิทยาลัยโซเฟีย (上智大学)
เขียนถึงการแปลไว้ในหนังสือ 翻訳の初歩
ตั้งแต่ปี 1980 ว่าเปรียบเสมือนการต่อรูปปริศนาที่ต้องใช้สติปัญญาระดับสูง
ในภาษาต่าง ๆ มีข้อมูลข่าวสารมากมาย
ไม่สามารถแทนที่ด้วยภาษาอื่นได้ทั้งหมด
จึงแปลตรงตัวทุกถ้อยคำไม่ได้
ผู้แปลต้องเลือกข้อมูลที่จำเป็นต้องคงไว้
เพราะมีความสำคัญจนตัดทิ้งไม่ได้
แล้วใช้ถ้อยคำอื่นมาอธิบาย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อไม่มีคำแปลตรงของคำนั้น ๆ
เมื่อจะทำงานแปลจึงต้องมองภาพรวมให้ได้ก่อน
แล้วหาชิ้นส่วนมาประกอบกันเข้าให้ใกล้เคียงใจความเดิมมากที่สุด
และการที่จะทำเช่นนั้นได้ผู้แปลจะต้องมีชิ้นส่วนของภาพปริศนามาก ๆ
นั่นคือมีคลังคำที่ประกอบด้วยคำศัพท์และสำนวนต่าง ๆ มากมาย
อยู่ในสมองของตนเป็นต้นทุน
การแปลที่ดีเป็นอย่างไร
Theodore H. Savory
“The Art of Translation”
What does the author say ? (ผู้แต่งพูดว่าอะไร)
What does he mean ? (หมายความว่าอย่างไร)
How does he say it ? (เขาพูดอย่างไร)
Ronald Knox
“Trials of a Translator”
to be accurate (ตรงตามต้นฉบับ)
to be intelligible (อ่านแล้วเข้าใจ)
to be readable (น่าอ่าน)
ข้อคิดจากศาสตราจารย์เบ็คคุ
แปลถูก
การแปล (1) (ความสามารถทางภาษาระดับคำศัพท์)
แปลผิด
แปลดี
การแปล (2) (ความสามารถทางการใช้ถ้อยคำสำนวน)
แปลไม่ดี
แปลอย่างไรไม่ให้ผิด
(1) อย่าเชื่อคำอธิบายในหนังสือง่าย ๆ
(2) ควรหมั่นเปิดพจนานุกรมบ่อย ๆ
(3) เวลาเปิดพจนานุกรมอย่าหลงคำ
(4) ต้องรู้ธรรมเนียมของชาตินั้น ๆ อย่างดี
(5) ต้องมีความรู้รอบตัว
(6) ต้องรู้ภาษาต้นฉบับเป็นอย่างดี
(7) ต้องอ่านต้นฉบับหลาย ๆ ครั้ง
(8) ต้องใช้วิจารณญานในการแปล
(9) อย่าด่วนสรุปความหมายของคำศัพท์ต่าง ๆ
(10) ถ้าสงสัย ไม่แน่ใจ ให้ถามผู้รู้
(11) ให้คนอื่นช่วยอ่านต้นฉบับแปล
ทำอย่างไรจึงจะแปลได้ดี
(1) ใช้ภาษาที่แปลอย่างถูกต้อง
(2) ใช้จินตนาการ
(3) ใช้สำนวนโวหารต่าง ๆ
(4) แปลด้วยหู
ขั้นตอนการทำงานแปล
1. อ่านต้นฉบับจนเข้าใจเนื้อหาทั้งหมด
2. แปลทีละย่อหน้า
3. เปิดพจนานุกรมเมื่อพบคำศัพท์ที่ไม่คุ้นเคย
4. คำศัพท์เฉพาะ เช่น ชื่อดอกไม้ที่ไม่มีชื่อภาษาไทย
5. อ่านทานอีกครั้งแล้วเรียบเรียงให้เป็นภาษาไทย
6. อ่านออกเสียง
7. ส่งให้บรรณาธิการต้นฉบับแปลอ่าน
รับชม Video การบรรยายพิเศษได้ที่ http://vod.kmutt.ac.th/wordpress/index.php/2017/02/23/952/